คำแนะนำการส่งบทความ​

กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ

บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ดังนี้

1.       ผู้เขียน ส่งบทความ พร้อมทั้งส่ง “แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์” ทางออนไลน์ผ่าน Email: tpa.thailand @hotmail.com

2.       เมื่อกองบรรณาธิการบริหารได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบโดยทันที

3.       กองบรรณาธิการบริหารจะดำเนินการตรวจสอบบทความที่ได้รับว่าอยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการและประโยชน์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและ       

          ปฏิบัติในเบื้องต้น และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบภายใน 15 วัน

4.       กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรอง โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่
          เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งกระบวนการกลั่นกรองนี้ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) โดยใช้เวลาพิจารณา
          ประมาณ 45 วัน

5.       เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว กองบรรณาธิการบริหารจะตัดสินการพิจารณาโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรนำลงตีพิมพ์ หรือควร
          ส่งให้ผู้เขียนแก้ไขก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้ง หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ และจะแจ้งผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนรับทราบ ภายในระยะเวลา 15 วัน 
          นับตั้งแต่ วันที่ได้รับผลการพิจารณา โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด

คำแนะนำในการจัดทำต้นฉบับบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ใน วารสารจิตวิทยา

การจัดพิมพ์ต้นฉบับ

1.       บทความ รวมเอกสารอ้างอิงและอื่นๆ ควรมีความยาวประมาณ 15-20 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์ด้วย Font TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษร 16 Point จัดหน้ากระดาษแบบกระจาย
           แบบไทย

2.       ระยะห่างจากขอบกระดาษทั้งด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้ายและด้านขวา 1 นิ้ว

3.       หมายเลขหน้า ให้ใส่ไว้ตำแหน่งด้านบนมุมขวาของหน้ากระดาษ ตั้งแต่ต้นจนจบบทความ

4.       ชื่อเรื่องบทความ ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 Point (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยชื่อเรื่องภาษา                      อังกฤษในบรรทัดต่อมา

5.       ชื่อผู้เขียน ระบุทุกคนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 Point พิมพ์ห่างจากชื่อบทความ 1 บรรทัด จัดชิดขวา สำหรับตำแหน่งงาน, หน่วยงานที่สังกัดหรือที่อยู่ที่
          ติดต่อได้ และอีเมลให้ระบุเป็นเชิงอรรถ

6.       ชื่อและหมายเลขกำกับตาราง ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้บนตารางจัดชิดซ้าย ใต้ตารางระบุแหล่งที่มาจัดชิดซ้าย (ถ้ามี)

7.        ชื่อภาพและหมายเลขกำกับภาพ ชื่อแผนภูมิและหมายเลขกำกับแผนภูมิ ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้ใต้ภาพ แผนภูมิ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใต้ชื่อภาพ แผนภูมิ
            ระบุแหล่งที่มา จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ

8.       เอกสารอ้างอิง (References) เขียนในรูปแบบ APA (American Psychological Association Citation Style) 7th edition

ส่วนประกอบของบทความ

บทความวิชาการ

หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์และเสนอแนะประเด็นอย่างสมบูรณ์ โดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (สามารถกำหนดข้อหัวหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้ตามความเหมาะสมของบทความ)

1.       ชื่อเรื่อง (Title)

2.       บทคัดย่อ (Abstract) ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเขียนเป็นภาษาไทยก่อน ความยาวไม่เกิน 300 – 350 คำ เป็นการสรุปเนื้อหาของบทความให้ได้ใจความชัดเจน

3.       คำสำคัญ (Keywords) ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล ไม่เกิน 5 คำ ใต้บทคัดย่อ

4.       บทนำ (Introduction) เป็นส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเบื้องต้นของเนื้อหา รวมทั้งระบุถึงขอบเขตเนื้อหาของบทความ

5.       เนื้อหา (Body of Text) เป็นส่วนหลักของเนื้อหาบทความ มีการแบ่งประเด็นออกเป็นเรื่องย่อย ๆ และมีการจัดเรียงลำดับเป็นหัวข้อตามรายละเอียดของเนื้อหา

6.       สรุป (Conclusion) เป็นการสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดออกมาอย่างชัดเจน และกระชับโดยมีการสรุป ปิดท้ายเนื้อหาที่เราได้นำเสนอไปแล้วว่ามีผลดี หรือผลเสียอย่างไร

7.       เอกสารอ้างอิง (References) เขียนในรูปแบบ APA (American Psychological Association Citation Style) 7th edition

 

บทความวิจัย

ควรมีการนำเสนอผลการวิจัยที่ได้รับอย่างเป็นระบบ โดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (สามารถมีหัวข้อหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้ตามความเหมาะสมของบทความ)

1.       ชื่อเรื่อง (Title)

2.       บทคัดย่อ (Abstract) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเขียนเป็นภาษาไทยก่อน ความยาวไม่เกิน 300 – 350 คำ เป็นการสรุปสาระสำคัญของบทความ
          โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ วิธีการสารและผลการวิจัย)

3.       คำสำคัญ (Keywords) ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล ไม่เกิน 5 คำ ใต้บทคัดย่อ

4.       บทนำ (Introduction) เป็นการอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหา และเหตุผลที่นำไปสู่การวิจัย มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหรือโต้แย้ง
          รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

5.       วัตถุประสงค์ (Research Objectives) ระบุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย

6.       วิธีการวิจัย (Research Methodology) อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างละเอียดและชัดเจน

7.       ผลการวิจัย (Results) เสนอผลการวิจัยที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการวิจัย การใช้ตารางหรือแผนภูมิ ไม่ควรเกิน 5 ตารางหรือแผนภูมิ
          โดยมีการแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบอย่างชัดเจน

8.       อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) ผสมผสานเปรียบเทียบและตีความผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
          รวมทั้งเชื่อมโยงผลการวิจัยให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย

9.       สรุป (Conclusion) สรุปสาระสำคัญของผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะที่จะนำผลการวิจัยนั้นไปใช้ประโยชน์

10.   เอกสารอ้างอิง (References) เขียนในรูปแบบ APA (American Psychological Association Citation Style) 7th edition

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิง

วารสารจิตวิทยา
ใช้รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาด้วยระบบนาม-ปีของ
APA (American Psychological
Association Citation Style) 7th edition
ดังนี้

1.     การอ้างอิงในเนื้อหา

o   รายการอ้างอิงภาษาไทย >> ให้เขียน ชื่อ นามสกุล ของผู้แต่ง เว้น 1 ตัวอักษร เครื่องหมายจุลภาค
(
,) เว้น 1 ตัวอักษร ตามด้วยปีพิมพ์ กรณีที่ไม่มีปีพิมพ์ให้ใช้คำว่า
“ม.ป.ป.” หมายถึง ไม่ปรากฏปีพิมพ์ (กรณีที่ไม่ปรากฏเลขหน้าให้ลงแค่ชื่อผู้แต่งกับปีพิมพ์)

 

        ผู้แต่ง (ปีพิมพ์)  กรณีระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหา

         (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์) กรณีอ้างอิงท้ายข้อความ

o  รายการอ้างอิงภาษาอังกฤษ >> ให้เขียนนามสกุลของผู้แต่งทับศัพท์ เป็นภาษาไทยก่อน เว้น 1 ตัวอักษร ตามด้วย นามสกุลภาษาอังกฤษ เครื่องหมายจุลภาค (,) เว้น 1 ตัวอักษร และปีพิมพ์ในวงเล็บ กรณีที่ไม่มีปีพิมพ์ใช้คำว่า
n.d.” หมายถึง no date

 

2.     การอ้างอิงก่อนข้อความ

1.1  การอ้างอิงที่มีผู้แต่ง  1 คน

         ภาษาไทย >> ชื่อ/สกุล/(ปีพิมพ์)  เช่น วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ (2563)

         ภาษาอังกฤษ >> Surname/(Date) เช่น Miyake (2008)

 

2.2  การอ้างอิงที่มีผู้แต่ง  2 คน

         ภาษาไทย >> ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่1/และ/ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 2/(ปีพิมพ์)

               เช่น  สมชาติ อนันตสุทธิ์ และ อภิญญา โสภาพัฒน์ (2556)

         ภาษาอังกฤษ >> Surname 1/&/Surname 2/(Date)

     เช่น Zuercher &  Diatta (2017)

 

2.3 การอ้างอิงที่มีผู้แต่งตั้งแต่  3 คนขึ้นไป

    ภาษาไทย >> ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 1/และคณะ/(ปีพิมพ์) 

  เช่น จุฬาลักษณ์ วงศ์อ่อน และคณะ (2561)

         ภาษาอังกฤษ >>Surname 1/et/al./(Date)เช่น Zhu et al. (2015)

หมายเหตุ: หมายเหตุ เครื่องหมาย / คือเว้น 1 ระยะ

 

3.     กรณีอ้างหลังข้อความ

1.1  การอ้างอิงที่มีผู้แต่ง  1 คน

         ภาษาไทย >> (ชื่อ/สกุล,/ปีพิมพ์)

         ภาษาอังกฤษ >> (Surname,/Date)

1.2  การอ้างอิงที่มีผู้แต่ง  2 คน

         ภาษาไทย >> (ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 1/และ/ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 2,/ปีพิมพ์)

         ภาษาอังกฤษ >>(Surname 1/&/Surname 2,/Date)

 

1.3  การอ้างอิงที่มีผู้แต่งตั้งแต่  3 คนขึ้นไป

    ภาษาไทย >> (ชื่อ/สกุลผู้แต่งคนที่ 1/และคณะ,/ปี)

      ภาษาอังกฤษ >> (Surname 1/et/al.,/Date)

หมายเหตุ:
เครื่องหมาย / คือเว้น 1 ระยะ

 

      การอ้างอิงท้ายบทความ (เอกสารอ้างอิง)

วารสารจิตวิทยา
ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามระบบ
APA (American Psychological Association)   7th edition โดยมีตัวอย่างการอ้างอิงเอกสารจากแหล่งต่างๆ ดังนี้

 

ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
(
Reference) แบบ APA 7th edition

          1.     การอ้างอิงหนังสือ

รูปแบบ : Author. (year).
Romanized Title [Translated Title]. Place: Publisher.

ตัวอย่างการอ้างอิงหนังสือ

อรัญญา ตุ้ยคำภีร์. (2560). ภาวะวิกฤตทางอารมณ์และพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในนิสิตนักศึกษา
(พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

2.     การอ้างอิงจากบทในหนังสือ (Book Chapters)

รูปแบบ

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์.

ตัวอย่างการอ้างอิงหนังสือ

o   เทพรัตน์ พิมลเสถียร.
(2560). นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

o  Covey, S. R. (2013). The 7 habits of highly effective
people: Powerful lessons in personal change
. Simon & Schuster.

 

3.     การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation)

รูปแบบ

          ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
          ไม่ได้ตีพิมพ์ หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]./ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่างการอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

o   จุฬาลักษณ์  วงศ์อ่อน. (2561). การพัฒนารูปแบบการนำตนเองด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องระดับเล็กน้อย
 
[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

o  Chansuvarn, W. (2012). Spectrometric analysis of mercury (II) ion
using gold nanoparticles stabilized by dithia-diaza ligands
[Unpublished
doctoral dissertation]. Chulalongkorn University.

 

4.     การอ้างอิงจากเว็บไซต์ (Websites)

4.1ผู้เขียนเป็นบุคคล (Individualauthor)

1) ภาษาไทย

รูปแบบ: ชื่อ-สกุลผู้เขียน./(ปี/วัน/เดือนที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL

o  วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2563, 17 พฤษภาคม). รู้ก่อนใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการ. Active Learning
: Learning for All.
http://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=2941

o  ทรงสุดา ภู่สว่าง. (ม.ป.ป.). โภชนาการในชีวิตประจำวัน.
http://www.human.cmu.ac.th/home/hc/ebook/006103/lesson7/01.htm

o  เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2554, 27 เมษายน). การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา. จุฬาวิทยานุกรม (Chulapedia).
http://www.chulapedia.chula.ac.th=การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา

2)
ภาษาต่างประเทศ

รูปแบบ:   Author./(ปี, เดือน/วันที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL

o  Johnson,A. (2018, May 24). “It doesn’t need
to be this way”: The promise of specialized early intervention in psychosis
services. IEPA.
https://iepa.org.au/network-news/it-doesnt-need-to-be-this-way-the-promise-of-specialised-early-intervention-in-psychosis-services

o  Tomoyuki Ohe. (2019, August 29). The chemical
structure of drugs affects their toxicity. Keio Research Highlights.
https://research-highlights.keio.ac.jp/2019/08/b.html

5.     การอ้างอิงจากการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ
(
Conference
papers/proceedings)

5.1  บทความ หรือ บทหนึ่งในหนังสือการประชุม ให้เขียนเช่นเดียวกับบทหนึ่งในหนังสือ(Chapter inbook) ชื่อการประชุมหรือการอภิปรายใช้ตัวเอียง
และใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกทุกคำของชื่อการประชุม/การอภิปราย

รูปแบบ

          ชื่อผู้แต่งในบท./(ปีพิมพ์).
          ชื่อเรื่อง./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บรรณาธิการ)
,/ชื่อการประชุม (หน้าแรก-หน้าสุดท้าย)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่างการอ้างอิงจากการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ

สรชัย จำเนียรดำรงการและ คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร (บก). (2558). สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ:ขา (ไม่) เคลื่อนสำคัญกว่าขาขึ้น. ใน งานประชุมวิชาการ เรื่อง
ปฎิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฎิรูป จิตสำนึกประชาธิปไตย ในโอกาส 9 ปี
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
(น. 245-313). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการ
สุขภาพแห่งชาติ.

 

6.     การอ้างอิงวารสาร (Journal)

รูปแบบ

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้าแรก-หน้าสุดท้าย..

ตัวอย่าง การอ้างอิงวารสาร

o  พราว อรุณรังสีเวช. (2560). สาเหตุและกลยุทธ์การแก้ปัญหาความรู้สึกไม่แน่นอนจากการสิ้นยุคของโปรแกรมแฟลซ.
วารสารนักบริหาร
,37(1), 3-13.

o  Chansuvarn,W., Tuntulani,  T. &  Imyim, A. (2015). Colorimetric detection of
mercury(II) based on gold nanoparticles, fluorescent gold nanoclusters and
other gold-based nanomaterials. TrAC Trends in Analytical Chemistry,  125(65), 83-96.

 

การส่งต้นฉบับ

1.       ผู้เขียน ส่งบทความ พร้อมทั้งส่ง “แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์” ทางออนไลน์ผ่าน Email: tpa.thailand @hotmail.com

2.       เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบโดยทันที

3.       กองบรรณาธิการจะดำเนินการตรวจสอบบทความที่ได้รับว่าอยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการและประโยชน์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติใน 
          เบื้องต้น และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบภายใน 15 วัน

4.       กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรอง โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่
          เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งกระบวนการกลั่นกรองนี้ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) โดยใช้เวลาพิจารณา   
          ประมาณ 45 วัน

5.       เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว กองบรรณาธิการบริหารจะตัดสินการพิจารณาโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรนำลงตีพิมพ์ หรือควร
          ส่งให้ผู้เขียนแก้ไขก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้ง หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ และจะแจ้งผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนรับทราบ ภายในระยะเวลา 15 วัน
          นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการพิจารณา โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด