รายละเอียดของวารสาร
ชื่อวารสาร: วารสารจิตวิทยา
Journal name: Journal of Psychology
ชื่อบรรณาธิการ: ศาสตราจารย์ ดร. อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
ชื่อย่อของวารสาร: –
Abbreviation Name: –
ISSN: 0858-8627
E-ISSN: –
ที่อยู่สำหรับติดต่อ: เลขาธิการ สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย สำนักงานสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศ
ไทย อาคารเกษมพัฒน์ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ
เลขที่ 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
เจ้าของ: สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย
จำนวนฉบับต่อปี: 2
Email: [email protected]
Website: http://thaipsychological.com/
TCI กลุ่มที่: 3
สาขาหลักของวารสาร: Social Science
สาขาย่อยของวารสาร: Psychology
มาตรฐานของวารสาร
ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ที่ สกอ. และ สกว. กำหนด โดยกองบรรณาธิการประกอบด้วย ศาสตราจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกที่มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง มาจากสถาบันภายนอกเป็นส่วนใหญ่ และมาจากสถาบันภายในส่วนหนึ่งและมีผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทำหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองบทความ อย่างน้อย 2 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-blind peer review)
กำหนดการออกเผยแพร่: เป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง ปีละ 2 ฉบับ ตามปีปฏิทิน คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม
ขอบเขตเนื้อหา: ขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของวารสารจิตวิทยา คลอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา ในสาชาวิชา จิตวิทยาทั่วไป จิตวิทยาการทดลอง จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาชุมชน และ พุทธจิตวิทยา เป็นต้น โดยรับบทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ (Academic articles) บทความปริทัศน์ (Review articles) และ บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
ภาษา: ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางจิตวิทยา อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาและวิจัยในศาสตร์ทางจิตวิทยา
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย